Musics Player

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Week9:The Flash! (เรื่องที่นักเรียนสนใจ)





My name is Barry Allen 
and i'm the fastest man alive.
ผมชื่อ แบร์รี่ อัลเลน
ผมเป็นคนที่เร็วที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่


คำพูดประจำตัวของแบรี่ อัลเลน (Barry Allen) หรือ เดอะแฟลช (The Flash)
จากซีรี่ที่ถูกสร้างมาจาก DC Comics หรือค่ายซูเปอร์ฮีโร่ค่ายเดียวที่ยิ่งใหญ่ทัดเทียมกับ Marvel โดยนำมาสร้างใหม่ออกอากาศในช่อง CW

แบรี่มีอดีตที่ไม่ค่อยจะดีสักเท่าไร หากคุณอยากจะรู้คุณต้องทำใจยอมรับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ต่อไปนี้ซะก่อน
แม่ของแบรี่ถูกฆ่าในบ้านตัวเองเมื่อคืนหนึ่งตอนแบรี่อายุ 11 ขวบ และพ่อของเขายังโดนจับข้อหาฆาตกรรมภรรยาของตัวเองอีกด้วย 

แต่แบรี่กลับไม่คิดอย่างนั้นเพราะเค้าเห็นสายฟ้าเกิดขึ้นในบ้านและยังเห็นผู้ชายอยู่ในสายฟ้านั้นอีก แน่นอนว่าเมื่อเราเรื่องนี้ให้ใครฟังไม่มีใครยอมเชื่อเขาแต่แบรี่เชื่อว่าผู้ชายที่อยู่ในสายฟ้านั่นแหละคือคนที่เป็นฆาตกรที่ฆ่าแม่เค้าจริงๆ

ชายที่เคยเป็นแค่นักนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานในส่วนพิสูจน์หลักฐานของหน่วยตำรวจประจำเมืองเซนทรัลซิตี้ ซึ่งก็คือเมืองที่เค้าเติบโตมานั่นเอง 


แต่แล้ววันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้น ทำให้มีคนที่โดนฟ้าผ่ามากมายในเมืองเซนทรัลซิตี้ รวมถึงแบรี่ด้วย
เค้าได้รับพลังความเร็วเหนือมนุษย์มาจากฟ้าผ่าครั้งนั้น ทำให้เค้าต้องเ็นฮีโร่คอยกป้องเมืองจากอันตรายต่างๆ และรวมถึงคนที่มีพลังพิเศษหรือบุคคลที่ถูกเรียกว่าเมต้าฮิวแมน (Meta Human) ซึ่งก็คือกลุ่มคนที่โดนฟ้าผ่าในคืนเดียวกับเค้านั่นเอง

หลังจากนั้นมาแบรี่ต้องคอยปกป้องเมืองด้วยความเร็วที่เค้ามี และสืบหาผู้ชายในสายฟ้าที่ฆ่าแม่ของเค้าเพื่อจะทวงความยุติธรรมให้แก่พ่อของเขาและทำให้ทุกคนเชื่อว่าเค้าไม่ได้โกหก


And what are you waiting? 
Run! Barry! Run!!



วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week8:รีวิวและแนะนำการใช้งานแอป Money Lover

วันนี้จะมาแนะนำและรีวิวแอปพลิเคชั่นที่จะช่วยบันทึกรายรับรายจ่ายของคุณอย่างง่ายๆ ชื่อแอพว่า Money Lover ครับ

เข้าสู่หน้าดาวน์โหลด กดติดตั้ง แอพนี้ไม่เสียตังครับ
 รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover  รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover
เลือกภาษาของระบบก่อน เมื่อเลือกภาษาแล้วก็จะมาสู่หน้าให้เลือกว่าจะเข้าสู่แอพแบบไหน 
 รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover  รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover
ใส่ชื่อที่เราจะใช้ในบัญชีนี้ และเลือกสกุลเงิน
 รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover  รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover

ทีนี้เราก็จะได้เริ่มเข้าสู่โหมดการทำธุรกรรม และยังเลือกโหมดได้อีกว่า ว่าเราใช้จ่ายเงินประเภทไหนไปบ้าง
 รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover   รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover

หน้าตาดูดีมาก ใช้งานง่าย
  รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover 
 รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover  รีวิว App เจ๋งๆ Money Lover
เห็นไหมครับ เป็นแอพที่มีประโยชน์และใช้ง่ายๆเลยใช่ไหมล่ะครับ จะรออะไรกันอยู่ล่ะไปโหลดกันได้เล้ยย (ไม่มีใครจ้าง โปรโมทให้ฟรี55555555)
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.bookmark.money&hl=th
อ้างอิงจาก
https://www.advice.co.th/it-news/911

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week7:คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.gif
ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้


ความหมายของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image002.jpg
รูปแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า
Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifช่องทางการสื่อสาร

ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image004.jpg
รูปแสดงช่องทางการสื่อสารโดยใช้จานรับดาวเทียม

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifสถานีงาน

สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifอุปกรณ์ในเครือข่าย

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image006.jpg
รูปแสดงการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
                                                        องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifโมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image008.jpg
รูปแสดงการใช้โมเด็มในการติดต่อเครือข่ายระยะไกล

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/010.jpg
แสดงฮับที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อและจุดแยกของสาย

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/312.jpg
แสดงซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย






โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)
        การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้

        1. 
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่องข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/bus_topology.jpg
        2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/ring_topology.jpg
        3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/STAR.JPG

 อ้างอิงจาก http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

week6:วิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ตคอมพิวเตอร์

O-NET คืออะไร ? O-NET คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งในภาษาฝรั่งก็คือ Ordinary National Education Test ที่จัดสอบโดย สทศ. ชื่อเต็มๆ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ในชื่อภาษาอังกฤษ National Institute of Educational Testing Service ตัวย่อ NIETS
ซึ่งการสอบ O-NET นี้จะใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะใช้วัดความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 โดย ที่ข้อสอบจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่O-NET คืออะไร
  1. ภาษาไทย
  2. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  3. ภาษาอังกฤษ
  4. คณิตศาสตร์
  5. วิทยาศาสตร์
  6. สุขศึกษาและพลศึกษา
  7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  8. ศิลปะ
ผมจะยกตัวอย่างข้อสอบคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในวิชาของการงานอาชีและเทคโนโลยี

ข้อ 105 ตอบข้อ 3 เพราะทั้งข้อที่กล่าวมาเป็นระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ซึ่งข้ออื่นบางอันไม่ใช่ระบบของคอมพิวเตอร์
ส่วนข้อ 106 ก็ตอบข้อ 3 เช่นกัน เพราะซอฟแวร์ตัวนี้เป็นตัวที่ใช้งานได้ตรงกับความต้องการของโจทย์มากที่สุด
 

ข้อ 139 ตอบข้อ 4 เพราะ รอมเป็นหน่วยความจำแบบถาวร ซึ่งสำคัญต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก หากเสียหายจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย

ข้อ 142 เฉลยข้อ 4 เพราะว่าไมโครโฟนแบบนี้จะทำให้สะดวกต่อการพูดและฟังไปพร้อมๆกันได้ด้วย


ข้อ 144 ตอบข้อ 4 เพราะว่าสะดวกต่อการใช้งาน และข้ออื่นๆที่กล่าวมาไม่ถูกต้อง


หวังว่าข้อสอบนี้จะสามารถช่วยเพื่อนๆได้ในการสอบไม่มากก็น้อย ม.6 แล้วขอให้เพื่อนๆทุกคนสอบเข้ามหาลัยได้ไปพร้อมๆกันนะครัช

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week5: Rave ผจญภัยเหนือโลก



"Rave ผจญภัยเหนือโลก" เป็นทั้งแอนิเมชั่นและผลงานหนังสือการ์ตูนจาก "ฮิโระ มาชิม่า" ซึ่งก็เป็นผู้เขียนเดียวกับที่เขียนเรื่อง "Fairy tail"



เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่ผมประทับใจที่สุดในด้านการวางเนื้อเรื่อง โครงเรื่อง
ในด้านภาพอาจไม่สามารถสู้การ์ตูนที่เป็นผลงานใหม่ได้อย่างแฟรี่เทล แต่ในด้านเนื้อหา ความยากลำบาก และความสนุกในการผจญภัยผมคิดว่า Rave กินขาด



Rave เป็นการ์ตูนอมตะที่ผมคิดว่ามันยังคงสนุก ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีแล้วก็ตาม จุดเด่นของเรื่องอยู่ที่ "เอรี่"หรือนางเอกของเรื่องได้พบเจอกับ"ฮารุ"พระเอกของเรื่อง โดยที่เอรี่ไม่มีความทรงจำใดๆอยู่เลย การเดินทางเพื่อปกป้องโลกและการตามหาความทรงจำของเอรี่จึงได้เริ่มขึ้น



ระหว่างทางเค้าได้พบกับเพื่อนร่วมรบมากมายเพื่อโค่นศิลามืดที่เรียกว่าดาร์คบริงส์ด้วยศิลาศักดิ์สิทธ์ที่ถูกเรียกว่า RAVE จุดจบของการเดินทางจะเป็นเช่นไร อยากให้เพื่อนๆลองหาติดตามอ่านเอาเอง ซึ่งผมรับรองว่าสนุกจนวางไม่ลงแน่นอน

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

week4:ภาษาคอมพิวเตอร์




ภาษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ 

ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล  และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก
ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอนภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์)  และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี  ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี [10]
ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี(K&R C) ต่อมา พ.ศ. 2532 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ตีพิมพ์มาตรฐานสำหรับภาษาซีขึ้นมา เรียกกันว่า ภาษาแอนซีซี (ANSI C) หรือ ภาษาซี89 (C89) ในปีถัดมา องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้อนุมัติให้ข้อกำหนดเดียวกันนี้เป็นมาตรฐานสากล เรียกกันว่า ภาษาซี90 (C90) ในเวลาต่อมาอีก องค์การฯ ก็ได้เผยแพร่ส่วนขยายมาตรฐานเพื่อรองรับสากลวิวัตน์ (internationalization) เมื่อ พ.ศ. 2538 และมาตรฐานที่ตรวจชำระใหม่เมื่อ พ.ศ. 2542 เรียกกันว่า ภาษาซี99 (C99) มาตรฐานรุ่นปัจจุบันก็ได้รับอนุมัติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 เรียกกันว่า ภาษาซี11 (C11) 

ภาษาซียังมีลักษณะเฉพาะต่อไป
  • ตัวแปรอาจถูกซ่อนในบล็อกซ้อนใน
  • ชนิดตัวแปรไม่เคร่งครัด เช่นข้อมูลตัวอักษรสามารถใช้เป็นจำนวนเต็ม
  • เข้าถึงหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ในระดับต่ำโดยแปลงที่อยู่ในเครื่องด้วยชนิดตัวแปรตัวชี้ (pointer)
  • ฟังก์ชันและตัวชี้ข้อมูลรองรับการทำงานในภาวะหลายรูปแบบ (polymorphism)
  • การกำหนดดัชนีแถวลำดับสามารถทำได้ด้วยวิธีรอง คือนิยามในพจน์ของเลขคณิตของตัวชี้
  • ตัวประมวลผลก่อนสำหรับการนิยามแมโคร การรวมไฟล์รหัสต้นฉบับ และการแปลโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข
  • ความสามารถที่ซับซ้อนเช่น ไอ/โอ การจัดการสายอักขระ และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ รวมอยู่ในไลบรารี
  • คำหลักที่สงวนไว้มีจำนวนค่อนข้างน้อย
  • ตัวดำเนินการแบบประสมจำนวนมาก อาทิ +=-=*=++ ฯลฯ
โครงสร้างการเขียน คล้ายภาษาบีมากกว่าภาษาอัลกอล ตัวอย่างเช่น
  • ใช้วงเล็บปีกกา { ... } แทนที่จะเป็น begin ... end ในภาษาอัลกอล 60 หรือวงเล็บโค้ง ( ... ) ในภาษาอัลกอล 68
  • เท่ากับ = ใช้สำหรับกำหนดค่า (คัดลอกข้อมูล) เหมือนภาษาฟอร์แทรน แทนที่จะเป็น := ในภาษาอัลกอล
  • เท่ากับสองตัว == ใช้สำหรับเปรียบเทียบความเท่ากัน แทนที่จะเป็น .EQ. ในภาษาฟอร์แทรนหรือ = ในภาษาเบสิกและภาษาอัลกอล
  • ตรรกะ "และ" กับ "หรือ" แทนด้วย && กับ || ตามลำดับ แทนที่จะเป็นตัวดำเนินการ ∧ กับ ∨ ในภาษาอัลกอล แต่ตัวดำเนินการดังกล่าวจะไม่ประเมินค่าตัวถูกดำเนินการทางขวา ถ้าหากผลลัพธ์จากทางซ้ายสามารถพิจารณาได้แล้ว เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่าการประเมินค่าแบบลัดวงจร (short-circuit evaluation) และตัวดำเนินการดังกล่าวก็มีความหมายต่างจากตัวดำเนินการระดับบิต & กับ |


คุณลักษณะที่ขาดไป

ธรรมชาติของภาษาในระดับต่ำช่วยให้โปรแกรมเมอร์ควบคุมสิ่งที่คอมพิวเตอร์กระทำได้อย่างใกล้ชิด ในขณะที่อนุญาตให้มีการปรับแต่งพิเศษและการทำให้เหมาะที่สุดสำหรับแพลตฟอร์มหนึ่งใดโดยเฉพาะ สิ่งนี้ทำให้รหัสสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบนฮาร์ดแวร์ที่มีทรัพยากรจำกัดมาก ๆ ได้เช่นระบบฝังตัว
ภาษาซีไม่มีคุณลักษณะบางอย่างที่มีในภาษาอื่นอาทิ
  • ไม่มีการนิยามฟังก์ชันซ้อนใน
  • ไม่มีการกำหนดค่าแถวลำดับหรือสายอักขระโดยตรง (การคัดลอกข้อมูลจะกระทำผ่านฟังก์ชันมาตรฐาน แต่ก็รองรับการกำหนดค่าวัตถุที่มีชนิดเป็น struct หรือ union)
  • ไม่มีการเก็บข้อมูลขยะโดยอัตโนมัติ
  • ไม่มีข้อกำหนดเพื่อการตรวจสอบขอบเขตของแถวลำดับ
  • ไม่มีการดำเนินการสำหรับแถวลำดับทั้งชุดในระดับตัวภาษา
  • ไม่มีวากยสัมพันธ์สำหรับช่วงค่า (range) เช่น A..B ที่ใช้ในบางภาษา
  • ก่อนถึงภาษาซี99 ไม่มีการแบ่งแยกชนิดข้อมูลแบบบูล (ค่าศูนย์หรือไม่ศูนย์ถูกนำมาใช้แทน) 
  • ไม่มีส่วนปิดคลุมแบบรูปนัย (closure) หรือฟังก์ชันในรูปแบบพารามิเตอร์ (มีเพียงตัวชี้ของฟังก์ชันและตัวแปร)
  • ไม่มีตัวสร้างและโครูทีน การควบคุมกระแสการทำงานภายในเทร็ดมีเพียงการเรียกใช้ฟังก์ชันซ้อนลงไป เว้นแต่การใช้ฟังก์ชัน longjmp หรือ setcontext จากไลบรารี
  • ไม่มีการจัดกระทำสิ่งผิดปรกติ (exception handling) ฟังก์ชันไลบรารีมาตรฐานจะแสดงเงื่อนไขข้อผิดพลาดด้วยตัวแปรส่วนกลาง errno และ/หรือค่ากลับคืนพิเศษ และฟังก์ชันไลบรารีได้เตรียม goto แบบไม่ใช่เฉพาะที่ไว้ด้วย
  • การเขียนโปรแกรมเชิงมอดูลรองรับแค่ระดับพื้นฐานเท่านั้น
  • การโอเวอร์โหลดฟังก์ชันหรือตัวดำเนินการไม่รองรับภาวะหลายรูปแบบขณะแปลโปรแกรม
  • การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุรองรับในระดับที่จำกัดมาก โดยพิจารณาจากภาวะหลายรูปแบบกับการรับทอด (inheritance)
  • การซ่อนสารสนเทศ (encapsulation) รองรับในระดับที่จำกัด
  • ไม่รองรับโดยพื้นฐานกับการทำงานแบบมัลติเทร็ดและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • ไม่มีไลบรารีมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์และความจำเป็นหลายอย่างในการเขียนโปรแกรมประยุกต์
คุณลักษณะเหล่านี้จำนวนหนึ่งมีให้ใช้ได้จากส่วนขยายในตัวแปลโปรแกรมบางตัว หรือจัดสรรไว้แล้วในสภาพแวดล้อมของระบบปฏิบัติการ (เช่นโพสซิกซ์) หรือจัดเตรียมโดยไลบรารีภายนอก หรือสามารถจำลองโดยดัดแปลงแก้ไขรหัสที่มีอยู่ หรือบางครั้งก็ถูกพิจารณาว่าไม่ใช่รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่เหมาะสม

อ้างอิงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B5 

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

week3:Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

Social network

Social network คือสังคมออนไลน์ที่มีเครือข่ายที่กว้างขวางและยังมีอรรถประโยชน์อีกมากมาย
เว็บหรือแอปพลิเคชั่น Facebook, Line, Instagram, Twitter ล้วนเป็น Social network หรือสังคมออนไลน์ทั้งสิ้น ซึ่งที่กล่าวมาเป็นโซเชี่ยลที่มีชื่อเสียงและมีคนมีคนนิยมใช้งานมากที่สุดในโลก



แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่ามนุษย์เราจะตกเป็นทาสของสื่อสังคมออนไลน์นี้กันอย่างโงหัวไม่ขึ้น สังเกตุได้จากบนรถไฟฟ้า หรือบนรถประจำทาง ที่แต่ละคนมัวแต่สนใจแท็บเล็ต หรือสมาทโฟนของตัวเอง โดยไม่ได้สนใจสิ่งรอบตัวใดๆเลย แถมบางคนเลือกที่จะคุยกันผ่านหน้าจาสี่เหลี่ยมมากกว่าการคุยกับคนจริงๆซะอีก ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "สังคมก้มหน้า"



จริงๆแล้ว Social network สามารถทำประโยชน์ได้อีกมากมายเช่น
-การทำการตลาดผ่านทางอินเทอร์เน็ต
-ติดต่อสื่อสารกันอย่างประหยัดค่าใช้จ่าย
-สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว




แต่ก็แปลกที่คนเราแทนที่จะคุยกับคนที่มีชีวิตจริงๆอยู่ตรงหน้า กลับเลือกที่จะคุยผ่านทางหน้าจอสี่เหลี่ยม เพราะฉะนั้นปัญหาต่างๆขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าที่จะเป็นเทคโนโลยีอันล้ำสมัย



ดังนั้นคนเราควรแบ่งเวลาให้ดี และควรเลือกที่จะสนใจกับสิ่งรอบข้างมากกว่าที่จะสนใจเพียงจอมือถือของเรา เวลาขึ้นรถไฟฟ้าแทนที่จะเลือกหยิบหูฟังขึ้นมาใส่และเลื่อนหน้าจอไปมาลองสนใจกับวิวทิวทัศน์ที่ผ่านไปกับหน้าต่างดูบ้าง ลองเปลี่ยนจากเสียงเพลงที่ฟังได้ตลอดมาเป็นเสียงของแม่ค้าที่เร่ขายของ เสียงของธรรมชาติอย่างใบไม้ที่แหวกอากาศดบ้าง และที่สำคัญจงจับมือคนที่เรารักให้นานกว่าจับมือถือ